Skip to main content

สำนักงานแรงงาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

การป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน

บทความ – THE MATTER x กระทรวงแรงงาน

 

 

ภาพข่าว การป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน

ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

วันที่ 19 มกราคม 2565

 วันที่ 15 ธันวาคม 2564

 วันที่ 14 ธันวาคม 2564

 

 

 

 

ภาพข่าว การป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน

ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564

วันที่ 8 เมษายน 2564

                วันที่ 8 เมษายน 2564 สำนักงานแรงงานจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยนางสาวยุพิน มูลจันทะ แรงงานจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มอบหมายให้นางสาวมยุรี อินต๊ะมา นักวิชาการแรงงานชำนาญการ พร้อมด้วยผู้แทนหน่วยงานสังกัดกระทรวงแรงงานจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ผู้แทนพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด ผู้แทนตำรวจตรวจคนเข้าเมือง ผู้แทน รอง กอ.รมน.จังหวัด ตรวจบูรณาการโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ด้านแรงงานจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ วันที่ 8 เมษายน 2564 ในสถานประกอบกิจการประเภทปศุสัตว์และแปรรูปสัตว์น้ำ ในเขตพื้นที่อำเภอปราณบุรี จำนวน 6 แห่ง รวมแรงงานทั้งหมด 153 คน เป็นแรงงานไทย 26 คน และแรงงานต่างด้าว 127 คน จากการตรวจไม่พบการกระทำผิดด้านการค้ามนุษย์แต่อย่างใด

วันที่ 10 มีนาคม 2564

 

                 สำนักงานแรงงานจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยนางสาวยุพิน มูลจันทะ แรงงานจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พร้อมด้วยผู้แทนหน่วยงานสังกัดกระทรวงแรงงานจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ผู้แทนพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด ผู้แทนตำรวจตรวจคนเข้าเมือง ผู้แทน รอง กอ.รมน.จังหวัด ตรวจบูรณาการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ วันที่ 10 มีนาคม 2564 ในสถานประกอบกิจการประเภทปศุสัตว์ ในเขตพื้นที่อำเภอกุยบุรีและอำเภอสามร้อยยอด จำนวน 4 แห่ง รวมแรงงานทั้งหมด 32 คน เป็นแรงงานไทย 23 คน และแรงงานต่างด้าว 9 คน จากการตรวจไม่พบการกระทำผิดด้านการค้ามนุษย์แต่อย่างใด

วันที่ 22 ธันวาคม 2563

                   สำนักงานแรงงานจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จัดประชุมอาสาสมัครแรงงานจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ครั้งที่ 1 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2563 โดยมีนางสาวยุพิน มูลจันทะ แรงงานจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นประธาน เพื่อชี้แจงแนวทางการปฏิบัติงานของอาสาสมัครแรงงานและมอบหมายภารกิจประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 พร้อมทั้งชี้แจงมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของกระทรวงแรงงานและจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ให้อาสาสมัครแรงงานรับทราบและนำไปเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ในพื้นที่/ชุมชนต่อไป ทั้งนี้ สำนักงานแรงงานจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้ดำเนินการตามมาตรการในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยการตรวจเช็คอุณหภูมิของอาสาสมัครแรงงานและเจ้าหน้าที่ก่อนเข้าห้องประชุม โดยมีหัวหน้าส่วนราชการสังกัดกระทรวงแรงงานจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พี่เลี้ยงอาสาสมัครแรงงาน และอาสาสมัครแรงงาน เข้าร่วมประชุม จำนวน 60 คน ณ ห้องประชุมช่องกระจก ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

 

วันที่ 18 ธันวาคม 2563

 

 

             สำนักงานแรงงานจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยนางสาวยุพิน มูลจันทะ แรงงานจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มอบหมายให้นางสาวมยุรี อินต๊ะมา นักวิชาการแรงงานชำนาญการ พร้อมด้วยผู้แทนหน่วยงานสังกัดกระทรงแรงงานจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ผู้แทนพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด ผู้แทนตำรวจตรวจคนเข้าเมือง และผู้แทน รองกอ.รมน.จังหวัด ตรวจบูรณาการการป้องกันการใช้แรงงานหรือบริการและการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2563 เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ด้านแรงงานจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในสถานประกอบกิจการประเภทก่อสร้าง ในเขตพื้นที่อำเภอบางสะพาน จำนวน 6 แห่ง ได้แก่ (1)หจก.อลงกตวัสดุภัณฑ์ (2)หจก.บุญชัยการโยธา (3)นายวรพล ใบเนียม (4)นายวุฒิพงศ์ ทวงเจียว (5)นายเฟื่อง ไหมทอง และ (6)นายสมโภช พรมแก้ว แรงงานรวมทั้งหมด 46 คน เป็นแรงงานไทย 22 คน และเมียนมา 24 คน จากการตรวจไม่พบการกระทำผิดด้านการค้ามนุษย์แต่อย่างใด

ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563

วันที่ 14 กันยายน 2563

 

              สำนักงานแรงงานจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ร่วมกับสำนักงานจัดหางานจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แก่ ผู้แทนสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด ผู้แทนสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองจังหวัด สถานีตำรวจภูธรคลองวาฬและสถานีตำรวจภูธรทับสะแก ตรวจแรงงานในกิจการกลุ่มเสี่ยงและกิจการในกลุ่มสินค้าของประเทศที่ถูกขึ้นบัญชีรายชื่อที่เชื่อว่าผลิตโดยการใช้แรงงานเด็กหรือแรงงานบังคับ เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2563 ณ อำเภอเมืองและอำเภอทับสะแก ในการนี้ นางสาวยุพิน มูลจันทะ แรงงานจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มอบหมายให้ นางสาวพรรณราย ปานเล็ก นักวิชาการแรงงาน เข้าร่วมการตรวจฯ โดยตรวจสถานประกอบการประเภทปศุสัตว์ (ฟาร์มไก่) จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ (1) ฐิติ-ภควัตฟาร์ม (โดยนายฐิติ ธรรมวิจิตรกุล) (2) ฟาร์มชวนใช้ (โดยนางธิดาวรรณ เหตุวรางกูร) และ (3) ณ นครฟาร์ม (โดยนายเอกรินทร์ ณ นคร) แรงงานรวมทั้งหมด 19 คน เป็นแรงงานเมียนมา 17 คน และพื้นที่สูง  2 คน จากการตรวจไม่พบการใช้แรงงานเด็ก แรงงานบังคับ การค้ามนุษย์ด้านแรงงาน หรือการกระทำผิดทางด้านกฎหมายแรงงานแต่อย่างใด

วันที่ 2 กันยายน 2563

  

             สำนักงานแรงงานจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ร่วมกับสำนักงานจัดหางานจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แก่ ผู้แทนสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด ผู้แทนสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองจังหวัด และสถานีตำรวจภูธรสามร้อยยอด ตรวจแรงงานในกิจการกลุ่มเสี่ยงและกิจการในกลุ่มสินค้าของประเทศที่ถูกขึ้นบัญชีรายชื่อที่เชื่อว่าผลิตโดยการใช้แรงงานเด็กหรือแรงงานบังคับ เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2563 ณ อำเภอสามร้อยยอดและอำเภอปราณบุรี ในการนี้ นางสาวยุพิน มูลจันทะ แรงงานจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มอบหมายให้ นางสาวพรรณราย ปานเล็ก นักวิชาการแรงงาน เข้าร่วมการตรวจฯ โดยตรวจสถานประกอบการประเภทปศุสัตว์ (ฟาร์มสุกร) จำนวน 4 แห่ง ได้แก่ (1) บูรพาฟาร์ม โดยนายบูรพา ปาน้อยนนท์ (2) นิมิตฟาร์ม โดยนายนิมิต เอี่ยวประเสริฐ  (3) หจก.เมทา ฟาร์มปราณบุรี และ (4) นางแสงจันทร์ กุลเมธินี แรงงานรวมทั้งหมด 27 คน เป็นแรงงานไทย 11 คน และเมียนมา 16 คน จากการตรวจไม่พบการใช้แรงงานเด็ก แรงงานบังคับ การค้ามนุษย์ด้านแรงงาน หรือการกระทำผิดทางด้านกฎหมายแรงงานแต่อย่างใด

วันที่ 13 สิงหาคม 2563

     

                   สำนักงานแรงงานจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยนางสาวยุพิน มูลจันทะ แรงงานจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มอบหมายให้นางสาวมยุรี อินต๊ะมา นักวิชาการแรงงานชำนาญการ พร้อมด้วย นายพูนศักดิ์ ประมงค์ ประกันสังคมจังหวัด ผู้แทนจัดหางานจังหวัด ผู้แทนสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด ผู้แทนผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานประจวบคีรีขันธ์ ผู้แทนพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด และผู้แทน รองกอ.รมน.จังหวัด ตรวจบูรณาการการป้องกันการใช้แรงงานหรือบริการและการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2563 เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ด้านแรงงานจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในสถานประกอบกิจการประเภทแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร ในเขตพื้นที่อำเภอเมือง จำนวน 8 แห่ง ได้แก่
(1)บจก.สรวีย์ คอนสตรัคชั่น (1999) (2)บจก.สรวีย์ คอนกรีต (3)นางสุนีย์ เขียวสละ (4)นายรุ่ง หนองยาว (5)หจก.เรืองเกิดเอ็นจิเนียริ่ง (6)บจก.ซุปเปอร์เอ็กซ์ เอ็นจิเนียริ่ง (7)บจก.เอสเจเอส ซัคเซส คอนสตรัคชั่น และ (8)บจก.เทอรัชโซ่ ซัพพลาย ระนอง
แรงงานรวมทั้งหมด 157 คน เป็นแรงงานไทย 120 คน และเมียนมา 37 คน จากการตรวจไม่พบการใช้แรงงานเด็กแรงงานบังคับ
 หรือการกระทำผิดทางด้านกฎหมายแรงงานแต่อย่างใด

วันที่ 15 กรกฎาคม 2563

 

 

  

                 สำนักงานแรงงานจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยนางสาวยุพิน มูลจันทะ แรงงานจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มอบหมายให้นางสาวมยุรี อินต๊ะมา นักวิชาการแรงงานชำนาญการ พร้อมด้วย นายพูนศักดิ์ ประมงค์ ประกันสังคมจังหวัด ผู้แทนจัดหางานจังหวัด ผู้แทนสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด ผู้แทนผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานประจวบคีรีขันธ์ ผู้แทนผู้กำกับการตรวจคนเข้าเมืองจังหวัด ผู้แทนพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด และผู้แทน รองกอ.รมน.จังหวัด ตรวจบูรณาการการป้องกันการใช้แรงงานหรือบริการและการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2563 เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ด้านแรงงานจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในสถานประกอบกิจการประเภทแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร ในเขตพื้นที่อำเภอทับสะแก  และอำเภอบางสะพาน จำนวน 7 แห่ง ได้แก่ (1) บริษัท บุญทิมเบอร์ อินเตอร์ จำกัด (แปรรูปไม้)(2) บริษัท นิลทองแท้ โคโคนัทจำกัด (แปรรูปมะพร้าว) (3) นายสายชล จ้อยร่อย (แปรรูปมะพร้าว)(4) นางกาญจนา จ้อยร่อย (แปรรูปมะพร้าว)(5) บริษัท ทองมงคลอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม (แปรรูปปาล์ม) (6) นายรักชาติ อรัญ (แปรรูปเกษตร ทำผักกาดดอง) และ (7)บริษัท เทพผดุงพรเกษตรอุตสาหกรรม จำกัด(แปรรูปมะพร้าว) แรงงานรวมทั้งหมด 436 คน เป็นแรงงานไทย 284 คน เมียนมา 145 คน และกัมพูชา 7 คน จากการตรวจไม่พบการใช้แรงงานเด็กแรงงานบังคับ หรือการกระทำผิดทางด้านกฎหมายแรงงานแต่อย่างใด

วันที่ 19 พฤษภาคม 2563

 

                   สำนักงานแรงงานจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยนางสาวยุพิน มูลจันทะ แรงงานจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พร้อมด้วย
นายพูนศักดิ์ ประมงค์ ประกันสังคมจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พร้อมด้วยผู้แทนจัดหางานจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ผู้แทนสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด ผู้แทนผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานประจวบคีรีขันธ์ ผู้แทนสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด และผู้แทน กอ.รมน.จังหวัด ร่วมตรวจบูรณาการการป้องกันการใช้แรงงานหรือบริการ และการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2563 เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ด้านแรงงานจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในสถานประกอบกิจการประเภทแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรและแปรรูปสัตว์น้ำในเขตพื้นที่อำเภอปราณบุรี จำนวน 5 แห่ง ได้แก่ (1) บจก.ทรัพย์พืชผล (2) บมจ.สยามอุตสาหกรรมเกษตรอาหาร (3) บจก.อุตสาหกรรมน้ำตาลปราณบุรี  (4) บจก.มาย เอ็นดีเวอร์ (2005) และ (5) บจก.บังอรห้องเย็น ซึ่งจากการตรวจไม่พบการใช้แรงงานเด็กและการค้ามนุษย์แต่อย่างใด แต่พบการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 โดยผู้แทนสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้ให้คำแนะนำและออกคำสั่งให้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายต่อไป และการกระทำความผิดตามพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 โดยผู้แทนจัดหางานจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จะได้ดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป

วันที่ 16 มกราคม 2563

 

                  สำนักงานแรงงานจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ร่วมกับสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และหน่วยงานสังกัดกระทรวงแรงงานประจวบคีรีขันธ์ ตรวจบูรณาการตามโครงการป้องกันการใช้แรงงานหรือบริการ และการค้ามนุษย์ด้านแรงงานจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยบูรณาการร่วมกับกิจกรรมตรวจกลุ่มแรงงานนอกระบบ  ในกลุ่มแรงงานนอกระบบและกลุ่มผู้รับงานไปทำที่บ้าน จำนวน 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มวิสาหกิจชุมชนด่านสิงขรเฟอร์นิเจอร์ ม.6 ต.คลองวาฬ อ.เมือง มีสมาชิกกลุ่มจำนวน 4 คน 2) กลุ่มแม่บ้านพัฒนาอาชีพ 99/1 ม.2 ต.เกาะหลัก อ.เมือง มีสมาชิกกลุ่มจำนวน 5 คน 3) กลุ่มวิสาหกิจชุมชนนิคมบาติก ต.อ่าวน้อย อ.เมือง มีสมาชิกกลุ่มจำนวน 9 คน ซึ่งจากการตรวจฯ ไม่พบการใช้แรงงานเด็กและการค้ามนุษย์แต่อย่างใด ทั้งนี้ หน่วยงานสังกัดกระทรวงแรงงานได้ให้คำแนะนำตามภารกิจและอำนาจหน้าที่ เพื่อให้กลุ่มฯ ปฏิบัติถูกต้องต่อไป

ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2562

วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2562

 

วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2562 นางสาวมยุรี อินต๊ะมา นักวิชาการแรงงานชำนาญการ รก.แรงงานจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มอบหมายให้นางสาวพรรณราย ปานเล็ก นักวิชาการแรงงาน ร่วมกับสำนักงานจัดหางานจังหวัด โดย นายธนกร นราวุฒิพันธ์ จัดหางานจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นหัวหน้าชุดฯ พร้อมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง บูรณาการตรวจสอบการทำงานของแรงงานต่างด้าว ในสถานประกอบการ พื้นที่ อ.ทับสะแก และอ.บางสะพาน จำนวน 6 แห่ง ได้แก่ (1)บจก.เทพผดุงพรเกษตรอุตสาหกรรม ลจ.รวม 106 คน แรงงานไทย 62 คน เมียนมา 44 คน (2) บจก.บุญทิมเบอร์อินเตอร์ ลจ.รวม 121 คน แรงงานไทย 55 คน เมียนมา 66 คน (3)บจก.ตั้งอี่ฮั้วขนส่ง ลจ.รวม 29 คน แรงงานไทย 13 คน เมียนมา 16 คน (4)โรงใยตั้งอี่ฮั้ว ลจ.รวม 10 คน แรงงานไทย 2 คน เมียนมา 8 คน  (5)หจก.พาราวู๊ดพาเลท ลจ.รวม 86 คน แรงงานไทย 14 คน เมียนมา 72 คน (6)หจก.วีเจเอ คลีนนิ่ง แอนด์ ซัพพลาย ลจ.รวม 3 คน เป็นแรงงานไทย 3 คน ผลการตรวจ ไม่พบการกระทำความผิดตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ไม่มีการใช้แรงงานเด็กและการค้ามนุษย์แต่อย่างใด

วันที่ 15 มกราคม 2562

วันที่ 15 มกราคม 2562 เวลา 05.00 น. นางสาวมยุรี อินต๊ะมา นักวิชาการแรงงานชำนาญการ            รก.แรงงานจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มอบหมายให้ นางสาวพรรณราย ปานเล็ก นักวิชาการแรงงาน ร่วมตรวจสภาพการจ้าง การทำงานและการค้ามนุษย์ด้านแรงงานในกิจการประมงทะเลแบบบูรณาการ ร่วมกับหน่วยป้องกันและปราบปรามประมงทะเลอ่าวน้อย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด สำนักงานจัดหางานจังหวัด สำนักงานเจ้าท่าส่วนภูมิภาค ศูนย์ควบคุมการแจ้งเข้า-ออกเรือประมงประจวบคีรีขันธ์ สำนักงานประมงจังหวัด และปกครองจังหวัด โดยตรวจเรือประมงในน่านน้ำอำเภอเมือง จำนวน 7 ลำ ได้แก่  (1)จ.จงเจริญชัย1  (2)จงเจริญชัย2  (3)ช.จงเจริญชัย5  (4)ช.จงเจริญชัย4  (5)จงเจริญชัย (6)จงเจริญชัย5 (7)ย.ยุทธชัยนาวี แรงงานรวมทั้งหมด  88 คน แรงงานไทย 13 คน เมียนมา 75 คน จากการตรวจไม่พบการใช้แรงงานเด็ก แรงงานบังคับ หรือการกระทำผิดทางด้านกฎหมายแรงงานแต่อย่างใด

วันที่ 10 มกราคม 2562

วันที่ 10 มกราคม 2562 เวลา 07.00 น. นางสาวมยุรี อินต๊ะมา นักวิชาการแรงงานชำนาญการ รก.แรงงานจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มอบหมายให้นางสาวพรรณราย ปานเล็ก นักวิชาการแรงงาน ร่วมกับสำนักงานจัดหางานจังหวัด โดย นายธนกร นราวุฒิพันธ์ จัดหางานจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นหัวหน้าชุดฯ พร้อมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง บูรณาการตรวจสอบการทำงานของแรงงานต่างด้าว ในสถานประกอบการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร พื้นที่อำเภอสามร้อยยอด จำนวน 5 แห่ง ได้แก่ (1) บจก. ไทย ยอดทิพย์  ลจ.รวม 669 คน แรงงานไทย 270 คน เมียนมา 399 คน (2) บจก. เถกิงอุตสาหกรรมสับปะรด ลจ.รวม 1,375 คน แรงงานไทย 365 คน เมียนมา 1,010 คน (3บจก. สามร้อยยอด ลจ.รวม 1,243 คน แรงงานไทย 415 คน เมียนมา 828 คน (4) บจก. เจริญฟู้ดส์อุตสาหกิจ ลจ.รวม 433 คน แรงงานไทย 337 คน เมียนมา 47 คนและกัมพูชา 49 คน (5) ห้างหุ้นส่วนจำกัด ทวีผลสามร้อยยอด ลจ.รวม 372 คน แรงงานไทย 44 คน เมียนมา 328 คน  ผลการตรวจ ไม่พบการกระทำความผิดตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ไม่มีการใช้แรงงานเด็กและการค้ามนุษย์แต่อย่างใด

วันที่ 27 ธันวาคม 2561

 วันที่ 27 ธันวาคม 2561 เวลา 07.00 น. นางสาวมยุรี อินต๊ะมา นักวิชาการแรงงานชำนาญการ รก.แรงงานจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มอบหมายให้นางสาวพรรณราย ปานเล็ก นักวิชาการแรงงาน ร่วมกับสำนักงานจัดหางานจังหวัด โดย นายธนกร นราวุฒิพันธ์ จัดหางานจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นหัวหน้าชุดฯ พร้อมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง บูรณาการตรวจสอบการทำงานของแรงงานต่างด้าว ในสถานประกอบการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร พื้นที่อำเภอปราณบุรี จำนวน 5 แห่ง ได้แก่ (1)บริษัท เนเชอรัล ฟรุต จำกัด ลจ.รวม 979 คน แรงานไทย 379 คน เมียนมา 600 คน (2) บริษัท สยามอโลเวล่า จำกัด ลจ.รวม 391 คน แรงงานไทย 100 คน เมียนมา 291 คน (3)บริษัท อุตสาหกรรมผลไม้ปราณบุรี (2005) จำกัด ลจ.รวม 370 คน แรงงานไทย 103 คน เมียนมา 267 คน (4)ห้างหุ้นส่วนจำกัด อุตสาหกรรมผลไม้ปราณบุรี ลจ.รวม 389 คน แรงงานไทย 121 คน เมียนมา 268 คน (5)บริษัท สยามอุตสาหกรรมเกษตรอาหาร จำกัด (มหาชน) ลจ.รวม 955 คน แรงงานไทย 344 คน เมียนมา 611 คน  ผลการตรวจ ไม่พบการกระทำความผิดตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ไม่มีการใช้แรงงานเด็กและการค้ามนุษย์แต่อย่างใด

วันที่ 25 ธันวาคม 2561

 

วันที่ 25 ธันวาคม 2561 เวลา 05.00 น. นางสาวมยุรี อินต๊ะมา นักวิชาการแรงงานชำนาญการ รก.แรงงานจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มอบหมายให้ นางสาวพรรณราย ปานเล็ก นักวิชาการแรงงาน ร่วมตรวจสภาพ     การจ้าง การทำงานและการค้ามนุษย์ด้านแรงงานในกิจการประมงทะเลแบบบูรณาการ ร่วมกับหน่วยป้องกันและปราบปรามประมงทะเลอ่าวน้อย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด สำนักงานจัดหางานจังหวัด สำนักงานเจ้าท่าส่วนภูมิภาค ศูนย์ควบคุมการแจ้งเข้า-ออกเรือประมงประจวบคีรีขันธ์ สำนักงานประมงจังหวัด และปกครองจังหวัด โดยตรวจเรือประมงในน่านน้ำอำเภอเมือง จำนวน 5 ลำ ได้แก่  (1)น.รุ่งวัชรากร  (2)พิเชษฐ์นาวา8  (3)พิเชษฐ์นาวา9  (4)ช.จงเจริญชัย4  (5)ช.จงเจริญชัย5 ลูกจ้างรวมทั้งหมด  55 คน แรงงานไทย 9 คน เมียนมา 30 คน และกัมพูชา 16 คน จากการตรวจไม่พบการใช้แรงงานเด็ก แรงงานบังคับ หรือการกระทำผิดทางด้านกฎหมายแรงงานแต่อย่างใด

วันที่ 28 พฤศจิกายน 2561

 

 วันที่ 28 พฤศจิกายน 2561 นางสาวกรจิรัฏฐ์ พงจันทร์ศธร แรงงานจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มอบหมายให้ นางสาวมยุรี อินต๊ะมา นักวิชาการแรงงานชำนาญการ พร้อมด้วยนางสาวกอบกุล มะลิวัลย์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงาน นางสาวอุษา ธีระวิทยเลิศ ประกันสังคมจังหวัด และผู้แทนหน่วยงานสังกัดกระทรวงแรงงานทุกหน่วยงาน ร่วมตรวจบูรณาการป้องกันการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2562 เพื่อป้องกันและการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ด้านแรงงานจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยตรวจกิจการประเภทปศุสัตว์(กุ้ง) ในพื้นที่ อ.กุยบุรี จำนวน 4 แห่ง ได้แก่ 1นายสมปอง กำพันธ์ และนางสาวราตรี ศรีวัง 2) นายนรินทร์ คชชะ  3) นางสาววรรณภา ชูกลิ่น  และ 4) < โดยตรวจกิจการประเภทปศุสัตว์(กุ้ง) ในพื้นที่ อ.กุยบุรี จำนวน 4 แห่ง ได้แก่ 1) นายสมปอง กำพันธ์ และนางสาวราตรี ศรีวัง 2) นายนรินทร์ คชชะ  3) นางสาววรรณภา ชูกลิ่น  และ 4) อำไพฟาร์ม รีสอร์ท  ประเภทกิจการโรงแรมที่พัก ร้านอาหารและฟาร์มกุ้ง ซึ่งจากการตรวจติดตามไม่พบการใช้แรงงานเด็กและการค้ามนุษย์แต่อย่างใด ทั้งนี้ หน่วยงานสังกัดกระทรวงแรงงานได้ให้คำแนะนำตามภารกิจและอำนาจหน้าที่ เพื่อให้นายจ้างปฏิบัติถูกต้องต่อไป 

 

 

ภาพข่าว การป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน

 

 

วันที่ 30 พฤษภาคม 2561


 
 
 
 
 

วันที่ 31 พฤษภาคม 2561 เวลา 08.00 น. นางสาวกรจิรัฏฐ์ พงจันทร์ศธร แรงงานจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พร้อมด้วยนางสาวกอบกุล มะลิวัลย์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานประจวบคีรีขันธ์ และนางสาวอุษา ธีระวิทยเลิศ ประกันสังคมจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ผู้แทนหน่วยงานสังกัดกระทรวงแรงงานทุกหน่วยงาน ร่วมตรวจบูรณาการป้องกันการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2561 เพื่อป้องกันและการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ด้านแรงงานจังหวัดประจวบคีรีขันธ์  ในพื้นที่อำเภอบางสะพาน จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ 1)บ้านกรูด กรีนวิว รีสอร์ท 2) บ้านกลางอ่าว บีช รีสอร์ท  3) คีรีวารี รีสอร์ท ซึ่งจากการตรวจติดตามไม่พบการใช้แรงงานเด็กและการค้ามนุษย์แต่อย่างใด ทั้งนี้ หน่วยงานสังกัดกระทรวงแรงงานได้ให้คำแนะนำตามภารกิจและอำนาจหน้าที่ เพื่อให้นายจ้างปฏิบัติถูกต้องต่อไป

วันที่ 26 เมษายน 2561

   

 วันที่ 26 เมษายน 2561 นางสาวกรจิรัฏฐ์ พงจันทร์ศธร แรงงานจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มอบหมายให้นางสาวพรรณราย ปานเล็ก นักวิชาการแรงงาน ร่วมกับ กอ.รมน.จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ หน่วยงานสังกัดกระทรวงแรงงานในจังหวัด ผู้แทนตรวจคนเข้าเมืองจังหวัด และผู้แทนพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด ร่วมออกตรวจ สปก.   กลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ อ.ทับสะแก และ อ.บางสะพาน จำนวน 5 แห่ง ดังนี้ 1.ร้านคุณต้น โดยนายนิวัฒน์ จงเอกวุฒิ ต.แสงอรุณ อ.ทับสะแก ประกอบกิจการ ร้านอาหารและจำหน่ายของฝาก มีลูกจ้าง จำนวน 80 คน  2.บริษัท เทพผดุงพรเกษตรอุตสาหกรรม จำกัด ต.ทับสะแก อ.ทับสะแกประกอบกิจการ แปรรูปมะพร้าว มีลูกจ้างจำนวน 110 คน 3.แพปลาซุ่งกี่ โดยนายสมพร แสงโหมด ต.แม่รำพึง อ.บางสะพาน ประกอบกิจการ แพปลา มีลูกจ้างจำนวน 35 คน 4.บริษัท ตั้งอี่ฮั้ว ขนส่ง จำกัด ต.แม่รำพึง อ.บางสะพาน ประกอบกิจการ ขนส่งสินค้าทางบก มีลูกจ้าง จำนวน 8 คน 5.โรงงานใยมะพร้าวตั้งอี่ฮั้ว ต.แม่รำพึง อ.บางสะพาน ประกอบกิจการ เตรียมเส้นใยมะพร้าว มีลูกจ้างจำนวน 14 คน ผลการตรวจปฏิบัติถูกต้องและ   ไม่พบการใช้แรงงานเด็กผิดกฎหมาย ไม่พบการใช้แรงงานบังคับ และไม่พบการค้ามนุษย์ด้านแรงงานแต่อย่างใด

 

 

 

วันที่ 4 เมษายน 2561

 

          วันที่ 4 เมษายน 2561 เวลา 09.00 น. นางสาวกรจิรัฏฐ์ พงจันทร์ศธร แรงงานจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พร้อมด้วยนางสาวกอบกุล มะลิวัลย์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานประจวบคีรีขันธ์ และนางสาวอุษา ธีระวิทยเลิศ ประกันสังคมจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ผู้แทนหน่วยงานสังกัดกระทรวงแรงงานทุกหน่วยงาน ร่วมตรวจบูรณาการป้องกันการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ครั้งที่ 3 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2561 เพื่อป้องกันและการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ด้านแรงงานจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ 1) โกลเด้น ไพน์ บีช รีสอร์ท ตั้งอยู่ ตำบลปากน้ำปราณ อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ประเภทกิจการโรงแรมที่พัก 2) แบ็คคัส โฮม รีสอร์ท ตั้งอยู่ ตำบลปากน้ำปราณ อำเภอปราณบุรี ประเภทกิจการโรงแรมที่พัก และ 3) ปัตตาเวีย รีสอร์ท แอนด์สปา ตำบลปากน้ำปราณ อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ประเภทกิจการโรงแรมที่พัก ซึ่งจากการตรวจติดตามไม่พบการใช้แรงงานเด็กและการค้ามนุษย์แต่อย่างใด ทั้งนี้ หน่วยงานสังกัดกระทรวงแรงงานได้ให้คำแนะนำตามภารกิจและอำนาจหน้าที่ เพื่อให้นายจ้างปฏิบัติถูกต้องต่อไป

 

 

วันที่ 27 มีนาคม 2561

 

 

  

 

วันที่ 27 มีนาคม 2561 เวลา 10.00 น. นางสาวกรจิรัฏฐ์ พงจันทร์ศธร แรงงานจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มอบหมายให้ นางสาวพรรณราย ปานเล็ก นักวิชาการแรงงาน ร่วมตรวจสภาพการจ้าง
สภาพการทำงานและการค้ามนุษย์ด้านแรงงานในกิจการประมงทะเลแบบบูรณาการ ร่วมกับหน่วยป้องกันและปราบปรามประมงทะเลบางสะพานน้อย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงานจัดหางานจังหวัด สำนักงานเจ้าท่าส่วนภูมิภาค ตำรวจน้ำ 6
(อำเภอบางสะพาน) สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัด และกรมการปกครอง โดยตรวจเรือ     ในพื้นที่อำเภอบางสะพาน จำนวน 5 ลำ ได้แก่ 1)ก.ดวงเจริญ1   2)ว.ศิริเรืองโชค  3)ส.สมบูรณ์ทรัพย์17 4)ก.ณัฐธิชา59  5)ก.โชคบุษราพรชัย44 ลูกจ้างรวมทั้งหมด 114 คน แรงงานไทย 14 คน เมียนมา 49 คน กัมพูชา  51 คน จากการตรวจไม่พบการใช้แรงงานเด็ก แรงงานบังคับ หรือการกระทำผิดทางด้านกฎหมายแรงงานแต่อย่างใด

 

 

วันที่ 22 มีนาคม 2561

 

 

 

   วันที่ 22 มีนาคม 2561 เวลา 09.30 น. สำนักงานแรงงานจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จัดการประชุมเพื่อสร้างภาคีเครือข่ายการป้องกันการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 ณ ห้องประชุม   เกาะหลัก ชั้น 5 ศาลากลางจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยมีวิทยากรจากหน่วยงานสังกัด รง.ปข. สนง.พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด และตำรวจภูธรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มาให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมประชุมเรื่องแนวทางการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน โดยขับเคลื่อนการทำงานในลักษณะบูรณาการการทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อป้องกันและขจัดปัญหาการค้ามนุษย์ด้านแรงงานในพื้นที่ รวมถึงการสร้างการรับรู้ให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง และการประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางการสื่อสารต่างๆ โดยมีผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 60 คน ประกอบด้วย อาสาสมัครแรงงานระดับตำบล และผู้แทนจากหน่วยงานด้านความมั่นคง ได้แก่ ตำรวจ และทหาร 

 

 

 

 

 

วันที่ 6 มีนาคม 2561

           วันที่ 6 มีนาคม 2561 เวลา 07.00 น. นางสาวกรจิรัฏฐ์ พงจันทร์ศธร แรงงานจังหวัดประจวบคีรีขันธ์มอบหมายให้ นางสาวพรรณราย ปานเล็ก นักวิชาการแรงงาน ร่วมตรวจสภาพการจ้าง สภาพการทำงานตามโครงการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ด้านแรงงานในกิจการประมงทะเลแบบบูรณาการ ร่วมกับหน่วยป้องกันและปราบปรามประมงทะเลอ่าวน้อย ประจวบคีรีขันธ์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงานเจ้าท่าส่วนภูมิภาค สำนักงานประมงจังหวัด ตำรวจน้ำและ บก.ปคม.DSI โดยตรวจเรือในพื้นที่อำเภอเมือง จำนวน 6 ลำ ได้แก่ 1)อ.โชคธนาภรณ์2 2)ด.ดวงดี 3)ช.จงเจริญชัย1 4)จงเจริญชัย9 5)ประกอบสิน15 6)ประกอบสิน 14 ลูกจ้างรวมทั้งหมด 96 คน ไทย 14 คน เมียนมา 82 คน จากการตรวจไม่พบการใช้แรงงานเด็ก แรงงานบังคับ หรือการกระทำผิดทางด้านกฎหมายแรงงานแต่อย่างใด 

 

วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2561

 

วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา 15.00 น. นางสาวกรจิรัฏฐ์ พงจันทร์ศธร แรงงานจังหวัดประจวบคีรีขันธ์    ได้ประสานหน่วยงานสังกัดกระทรวงแรงงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันสัมภาษณ์คัดแยกแรงงานต่างด้าว   ชาวเมียนมา จำนวน 27 คน ที่เดินทางมาร้องขอความเป็นธรรม กรณีถูกนายจ้างยึดเอกสารประจำตัว ไม่จ่ายค่าจ้างตามที่กฎหมายกำหนด เลิกจ้างและไล่ออกจากสถานที่ทำงาน ณ บริษัทธนกฤต ดีเวลลอปเม้นท์ ตั้งอยู่ที่ ตำบลทับใต้ อำเภอหัวหิน ซึ่งแรงงานดังกล่าวได้เดินทางไปขอรับการช่วยเหลือจากมูลนิธิรักษ์ไทย ณ จังหวัดสมุทรสาคร เพื่อให้การดำเนินการไปตามขั้นตอน  ทีมสหวิชาชีพจึงได้ร่วมกันดำเนินการสัมภาษณ์คัดแยกว่าเกี่ยวข้องกับความผิดกรณีค้ามนุษย์หรือไม่ ณ ห้องประชุมสิงขร ศาลากลางจังหวัด ชั้น 3 ซึ่งผลจากการสัมภาษณ์ฯ ไม่พบความผิดตาม พ.ร.บ.ค้ามนุษย์แต่อย่างใด ซึ่งสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด จะได้ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป

 

 

 

 

วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2561

 

 

วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา 06.30 น. นางสาวกรจิรัฏฐ์ พงจันทร์ศธร แรงงานจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มอบหมายให้ นางสาวพรรณราย ปานเล็ก นักวิชาการแรงงาน ร่วมตรวจสภาพการจ้าง
สภาพการทำงานและการค้ามนุษย์ด้านแรงงานในกิจการประมงทะเลแบบบูรณาการ ร่วมกับหน่วยป้องกันและปราบปรามประมงทะเลบางสะพานน้อย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงานจัดหางานจังหวัด สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด สำนักงานเจ้าท่าส่วนภูมิภาค ตำรวจน้ำ 6
(อำเภอบางสะพาน) สำนักงานตรวจ  คนเข้าเมืองจังหวัด สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด และกรมการปกครอง โดยตรวจเรือในพื้นที่อำเภอบางสะพาน จำนวน 4 ลำ ได้แก่ 1)พรนพรัตน์1  2)ณฏฐพรนาวี4  3)ณฏฐพรนาวี5  4)ก.โชคสุนันท์ชัย11 ลูกจ้างรวมทั้งหมด 50 คน ไทย 9 คน เมียนมา 41 คน จากการตรวจไม่พบการใช้แรงงานเด็ก แรงงานบังคับ หรือการกระทำผิดทางด้านกฎหมายแรงงานแต่อย่างใด

 

 

 

 

วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2561

 

 

วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา 09.00 น. นางสาวกรจิรัฏฐ์ พงจันทร์ศธร แรงงานจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มอบหมายให้ นางณารีรัตน์ จันทรมณี เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีชำนาญงาน ร่วมตรวจสถานประกอบการเกี่ยวกับกิจการต่อเนื่องประมงทะเล ร่วมกับสถานีตำรวจภูธรเมืองประจวบคีรีขันธ์ เจ้าหน้าที่สำนักงานจัดหางานจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เจ้าหน้าที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ทหารร้อย รส. เจ้าหน้าที่พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ทหารหน่วยเฉพาะกิจจงอางศึก ณ แพตากปลาของนายอมรเทพ อ่อนช้อย เลขที่ 76 หมู่ 4 ตำบลอ่าวน้อย อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จากการตรวจฯ พบลูกจ้างจำนวน 8 คน สัญชาติเมียนมา ไม่พบการใช้แรงงานเด็ก แรงงานบังคับ หรือการกระทำความผิดตามกฎหมาย พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 แต่อย่างใด

 

 

 

 

วันที่ 30 มกราคม 2561

 

 

 

วันที่ 30 มกราคม 2561 เวลา 09.00 น. นางสาวกรจิรัฏฐ์ พงจันทร์ศธร แรงงานจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มอบหมายให้ นางสาวอังคณา คงศักดิ์ นักวิชาการแรงงานชำนาญการ ร่วมตรวจสถานประกอบการเกี่ยวกับกิจการต่อเนื่องประมงทางทะเล ร่วมกับสถานีตำรวจภูธรเมืองประจวบคีรีขันธ์ เจ้าหน้าที่สำนักงานจัดหางานจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เจ้าหน้าที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ทหารร้อย รส. เจ้าหน้าที่พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ทหารหน่วยเฉพาะกิจจงอางศึก ณ บริษัท อ่าวน้อย ห้องเย็น จำกัด ต.อ่าวน้อย อ.เมือง จ.ประจวบคีรีขันธ์ พบว่ามี แรงงานคนไทย จำนวน 9 คน แรงงานต่างด้าวสัญชาติเมียนมา จำนวน 15 คน พบการกระทำความผิดกฎหมาย ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 90 เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้น ซึ่งสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้ให้คำแนะนำ
แก่นายจ้าง และจะดำเนินการออกคำสั่งให้นายจ้างปฏิบัติตามกฎหมายต่อไป

 

 

 

 

วันที่ 29 มกราคม 2561 

 

 

วันที่ 29 มกราคม 2561 เวลา 13.00 น. นางสาวกรจิรัฏฐ์ พงจันทร์ศธร แรงงานจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พร้อมด้วยนางสาวอุษา ธีระวิทยเลิศ ประกันสังคมจังหวัดฯ และผู้แทนหน่วยงานสังกัดกระทรวงแรงงานทุกหน่วยงาน ร่วมตรวจบูรณาการป้องกันการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ครั้งที่ 2  ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2561 เพื่อป้องกันและการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ด้านแรงงานจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กลุ่มผู้รับงานไปทำที่บ้านและกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่อำเภอเมือง จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ 1) กลุ่มพัฒนาอาชีพบ้านบึง ต.อ่าวน้อย อ.เมืองฯ ประเภทรับงานผลิตกระเป๋าถักจากเชือกร่ม 2) กลุ่มนิคมบาติก ต.อ่าวน้อย อ.เมืองฯ ประเภทรับงานบาติก ซึ่งจากการตรวจติดตามไม่พบการใช้แรงงานเด็กและการค้ามนุษย์แต่อย่างใด ทั้งนี้ หน่วยงานสังกัดกระทรวงแรงงานได้ให้คำแนะนำตามภารกิจและอำนาจหน้าที่
ของกระทรวงแรงงาน เพื่อให้เข้าถึงบริการของหน่วยงานภาครัฐและสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับต่อไป

 

 

 

 

วันที่ 23 มกราคม 2561 

  

         วันที่ 23 มกราคม 2561 เวลา 09.00 น. นางสาวกรจิรัฏฐ์ พงจันทร์ศธร แรงงานจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มอบหมายให้ นางณารีรัตน์ จันทรมณี เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีชำนาญงาน ร่วมตรวจสถานประกอบการเกี่ยวกับกิจการต่อเนื่องประมงทางทะเล ร่วมกับเจ้าหน้าที่สำนักงานจัดหางานจังหวัดประจวบคีรีขันธ์  เจ้าหน้าที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.เมืองประจวบฯ ทหารร้อย รส. เจ้าหน้าที่พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ทหารหน่วยเฉพาะกิจจงอางศึก ณ สะพานปลาป้าฮวย ต.อ่าวน้อย อ.เมือง จ.ประจวบคีรีขันธ์ จากการตรวจไม่พบการค้ามนุษย์ หรือกระทำผิดทางด้านกฎหมายแรงงานแต่อย่างใด

 

 

 

วันที่ 11 มกราคม 2561

 

 

 

        วันที่ 11 มกราคม 2561 เวลา 07.00 น. นางสาวกรจิรัฏฐ์ พงจันทร์ศธร แรงงานจังหวัดประจวบคีรีขันธ์มอบหมายให้นางสาวอังคณา คงศักดิ์ นักวิชาการแรงงานชำนาญการ ออกตรวจเรือประมง
เพื่อเป็นการบูรณาการจัดการแรงงานปัญหาต่างด้าวและการค้ามนุษย์ด้านการประมง เพื่อบูรณาการ
ร่วมป้องกันแก้ไขปัญหาแรงงานในเรือประมง และป้องกันปราบปรามการค้ามนุษย์ ร่วมกับหน่วยป้องกันและปราบปรามประมงทะเล โดยมีสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่
ประมงจังหวัด สำนักงานเจ้าท่า และฝ่ายทหาร โดยออกตรวจเรือบริเวณท่าเทียบเรือคลองวาฬ จำนวน 5 ลำ ประกอบด้วย เรือพิเชษฐ์นาวา 8 เรือพิเชษฐ์นาวา 9 เรือกิตติมา 55 และเรือก.มงคลสมุทร 11 จากการตรวจ
ไม่พบการค้ามนุษย์ หรือกระทำผิดทางด้านกฎหมายด้านแรงงานแต่อย่างใด และพบว่าลูกเรือทั้งหมดมีบัตรประจำตัวถูกต้องครบถ้วนทุกคนและเรือประมงมีเอกสารยืนยันการขอทำการประมงอย่างถูกต้องตามกฎหมาย

 

 

 

 

วันที่ 9 มกราคม 2561

 

วันที่ 9 มกราคม 2561 นางสาวกรจิรัฏฐ์ พงจันทร์ศธร แรงงานจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พร้อมด้วย
นายธนกร นราวุฒิพันธ์
จัดหางานจังหวัดฯ นางสาวกอบกุล มะลิวัลย์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานฯ และผู้แทนสวัสดิการและคุ้มครองแรงานจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ร่วมกับ รอง ผอ.กอ.รมน. (พ.อ.กรกานต์ นาเวชวนิชกุล) พ.ต.อ.นิรันดร ศิริสังข์ไชย รองผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ผู้แทนจากที่ทำการปกครองจังหวัด ผู้แทนสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เดินทางมาตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณี แรงงานต่างด้าว จำนวน 42 คน แจ้งความประสงค์จะเดินทางกลับประเทศกรณีร้องเรียนว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมจากนายจ้าง  ซึ่งโรงพยาบาลบางสะพาน ได้ดำเนินการตรวจร่างกาย และพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดพร้อมด้วยเจ้าหน้าที่หน่วยงานสังกัดกระทรวงแรงงานได้ร่วมกันสัมภาษณ์เพื่อคัดแยกว่าเป็นผู้เสียหายจากค้ามนุษย์หรือไม่อย่างไร ก่อนที่จะดำเนินการส่งกลับประเทศต่อไป ทั้งนี้ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้วพบว่าพบว่านายจ้างไม่ได้ค้างจ่ายค่าจ้างหรือทำผิดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานแต่อย่างใด

 

 

 

 

 

472
TOP